มวยไทย

code java ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blog นายคณินเเละนายศุภวิชญ์

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์





อุปกรณ์



กางเกง


นวม

ฟันยาง

ตัวอย่างสนามมวย


กติกา


กติกา

ปัจจุบันกีฬามวยไทยอาชีพบนเวทีมวยมาตรฐานและ กีฬามวยไทยสมัครเล่น เป็นการต่อสู้ที่มีกฏกติกาชัดเจน
มีนายสนามผู้ขออนุญาตจัด มีผู้จัดชก (Promoter) มีกรรมการให้คะแนนและกรรมการตัดสินชี้ขาด
(Judge/Julies/Referee) กรรมการตัดสินจะต้องมีอย่างน้อย สาม คน มีกรรมการตัดสินชี้ขาดบนเวทีและกรรมการให้คะแนน การให้คะแนนนิยมให้เป็นยก ยกละ 10 คะแนน (ดูจากการใช้ศิลปะการป้องกัน การต่อสู้ ความบอบช้ำที่ได้รับ อันตรายจากบาดแผล การได้เปรียบเสียเปรียบ การคาดการณ์ผลสุดท้ายของการต่อสู้ การตัดคะแนนจากการเอารัดเอาเปรียบคู่ชกในขณะที่ไม่เหมาะสม การถูกทำให้เสียหลักหรือล้ม การถูกนับ ฯลฯ )ซึ่งพิจารณาโดยใช้หลักวิชาและประสบการณ์ของกรรมการที่ผ่านการตรวจสอบรับรองความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ การชกจัดเป็นยกมี 5 ยกๆ ละ 3 นาที พัก 2 นาที (เดิมกำหนด 4 ถึง 6 ยก) มุ่งผลเพียงแค่ แพ้ ชนะ และการแสดงออกของศิลปะการต่อสู้ชั้นสูง ผู้ชกต้องแต่งกายตามกำหนด และมีการสวมมงคลคาดผ้าประเจียด และก่อนชกต้องมีการไหว้ครูซึ่งเริ่มจากนั่ง กราบเบญจางคประดิษฐ์ คุกเข่าถวายบังคม ขึ้นพรหมนั่ง-ยืน ท่ารำมวย (อาจมีการเดินแปลง ย่างสามขุม การรูดเชือก การบริกรรมคาถา) เพื่อสำรวจ ทักทายหรือข่มขวัญซึ่งแตกต่างกันไปตามค่าย สำนัก ท่ารำมวย อาทิ พระรามแผลงศร, ลับหอกโมกขศักดิ์ , กวางเหลียวหลัง , หงส์เหิร , สาวน้อยประแป้ง ฯลฯ มีการบรรเลงดนตรีให้จังหวะในการต่อสู้ซึ่งใช้เพลงสะหระหม่าแขกใช้ในการไหว้ครู เพลงบุหลันชกมวย และเพลงเชิด ใช้ในการต่อสู้ เครื่องดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ปี่ชวา , กลองแขก, ฉิ่ง





วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

ค่ายมวย

ค่ายมวย

ค่ายมวยแฟร์เท็กซ์

ประวัติ

โรงงานผลิตอุปกรณ์และเสื้อผ้ากีฬาแฟร์เท็กซ์ ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดย บรรจง บุษราคัมวงษ์ ใน พ.ศ. 2514 ที่ได้ทำการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ฝึกซ้อมมวยไทยรวมถึงเสื้อยืดตราแฟร์เท็กซ์ ซึ่งได้ทำการจัดจำหน่ายนอกประเทศไทย ก่อนที่จะมีการจัดตั้งค่ายมวยแฟร์เท็กซ์แห่งแรกที่กรุงเทพใน พ.ศ. 2518 แต่ภายหลัง ได้ย้ายไปยังอำเภอบางพลี จากนั้น บรรจงก็ได้จัดรายการแข่งขันศึกแฟร์เท็กซ์ขึ้นใน พ.ศ. 2521 เมื่อเขาได้กลายมาเป็นโปรโมเตอร์มวยที่สนามมวยเวทีลุมพินี[1]
ใน พ.ศ. 2536 ได้มีการเปิดค่ายมวยแฟร์เท็กซ์ใน เมืองแชนด์เลอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ภายหลังได้ย้ายไปยัง ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ใน พ.ศ. 2509 และได้ปิดตัวลงใน พ.ศ. 2554 จากนั้น ได้มีการเปิดค่ายมวยสี่แห่งในเขตโตเกียวใน พ.ศ. 2547 และอีกแห่งที่เมืองพัทยาในปีถัดมา[2]
จวบจนปัจจุบัน ได้มีการจัดตั้งมีค่ายมวยแฟร์​เท็กซ์ขึ้นที่ อำเภอบางพลี, เมืองพัทยา (ที่ประเทศไทย), เมาน์เทนวิว, นิววอร์ค, ซานฟรานซิสโก-ซึ่งได้ปิดทำการ (ที่สหรัฐอเมริกา), อะระกะวะ, ชิบะ, ไทโต และ วะระบิ (ที่ประเทศญี่ปุ่น)[3]

ค่ายมวยศิษย์ยอดธง

ประวัติ

ค่ายมวยศิษย์ยอดธงก่อตั้งขึ้นเมื่อราวปีพุทธศักราช 2502 เมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง ตอนนั้นครูอายุเพียง 23 ปี ครูสร้าง นักมวยให้มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคน จนทำให้ค่ายมวยศิษย์ยอดธง เป็นที่กล่าวถึงของคนในวงการมวย ค่ายมวยเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ตามลำดับ ครูเริ่มมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จนกระทั่งค่ายมวย ศิษย์ยอดธง เมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้ปิดตัวลง และ มาเปิดค่ายมวยใหม่ที่ตำบลนาเกลือ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี มีนักมวยที่สร้างชื่อเสียงไว้มากมาย อย่างศรีพี่น้อง คือ ก้องธรณี และสามารถ พยัคฆ์อรุณ ที่โด่งดังจนถึงขีดสูงสุด


รูปภาพเกี่ยวกับมวยไทย

รูปภาพเกี่ยวกับมวยไทย








วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติมวยไทย

ประวัติมวยไทย


1. มวยไทยกับคนไทย
....จากการจำแนกเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ คนไทยมีเชื้อชาติอยู่ในกลุ่มมองโกเลีย ลักษณะร่างกายโดยทั่วไปตัวเล็กกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว ความสูงโดยเฉลี่ย 5 ฟุต 3 นิ้ว ร่างกายล่ำสัน สมส่วน ทะมัดทะแมง น้ำหนักตัวน้อย มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูง มือมีเนื้อนุ่มนิ่ม ผิวสีน้าตาลอ่อน ผมดกดำ ขนตามตัวมีน้อย เคราไม่ดกหนา รูปศีรษะเป็นสัดส่วนดี ลูกตาสีดำตาขาวมีสีเหลืองเล็กน้อย กระพุ้งแก้มอวบอูม ใบหน้ากลม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเมืองร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ใช้เรือเป็นพาหนะ จึงทำให้คนไทยสวมเสื้อผ้าน้อยชิ้น ไม่สวมหมวกและรองเท้า สามารถใช้อวัยวะหมัด เท้า เข่า ศอก ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว จึงนำไปผสมผสานกับการใช้อาวุธมีด ดาบ หอก เพื่อป้องกันตนเองและป้องกันประเทศ
....มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้นชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึกเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2. มวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย
....สมัยกรุงสุโขทัยเริ่มประมาณ พ.ศ.1781 - 1951 รวมระยะเวลา 140 ปี หลักฐานจากศิลาจารึกกล่าวไว้ชัดเจนว่า กรุงสุโขทัยทำสงครามกับประเทศอื่นรอบด้าน จึงมีการฝึกทหารให้มีความรู้ความชำนาญในรบด้วยอาวุธ ดาบ หอก โล่ห์ รวมไปถึงการใช้อวัยวะของร่างกายเข้าช่วยในการรบระยะประชิดตัวด้วย เช่น ถีบ เตะ เข่า ศอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ
....หลังเสร็จสงครามแล้ว ชายหนุ่มในสมัยกรุงสุโขทัยมักจะฝึกมวยไทยกันทุกคนเพื่อเสริมลักษณะชายชาตรี เพื่อศิลปะป้องกันตัว เพื่อเตรียมเข้ารับราชการทหารและถือเป็นประเพณีอันดีงาม ในสมัยนั้นจะฝึกมวยไทยตามสำนักที่มีชื่อเสียง เช่น สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีการฝึกมวยไทยตามลานวัดโดยพระภิกษุอีกด้วย วิธีฝึกหัดมวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย ครูมวยจะใช้กลอุบายให้ศิษย์ ตักน้ำ ตำข้าว ผ่าฟืน ว่ายน้ำ ห้อยโหนเถาวัลย์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและอดทนก่อนจึงเริ่มฝึกทักษะ โดยการผูกผ้าขาวม้าเป็นปมใหญ่ๆไว้กับกิ่งไม้ แล้วชกให้ถูกด้วยหมัด เท้า เข่า ศอก นอกจากนี้ยังมีการฝึกเตะกับต้นกล้วย ชกกับคู่ซ้อม ปล้ำกับคู่ซ้อม จบลงด้วยการว่ายน้ำเพื่อทำความสะอาดร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน ครูมวยจะอบรมศีลธรรมจรรยา ทบทวนทักษะมวยไทยท่าต่างๆ จากการฝึกในวันนั้นผนวกกับทักษะท่าต่างๆ ที่ฝึกก่อนหน้านี้แล้ว
....สมัยกรุงสุโขทัยมวยไทยถือว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาของกษัตริย์ เพื่อฝึกให้เป็นนักรบที่มีความกล้าหาญ มีสมรรถภาพร่างกายดีเยี่ยม เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถในการปกครองประเทศต่อไป ดังความปรากฏตามพงศาวดารว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์กษัตริย์กรุงสุโขทัยพระองค์แรกทรงเห็นการณ์ไกลส่งเจ้าชายร่วงองค์ที่ 2 อายุ 13 พรรษา ไปฝึกมวยไทยที่ สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี เพื่อฝึกให้เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าในอนาคต และในปี พ.ศ. 1818 - 1860 พ่อขุนรามคำแหงได้เขียนตำหรับพิชัยสงคราม ข้อความบางตอนกล่าวถึงมวยไทยด้วย นอกจากนี้พระเจ้าลิไท เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาจากสำนักราชบัณฑิตในพระราชวังมีความรู้แตกฉานจนได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ซึ่งสำนักราชบัณฑิตมิได้สอนวิชาการเพียงอย่างเดียว พระองค์ต้องฝึกภาคปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าแบบมวยไทย และการใช้อาวุธ คือ ดาบ หอก มีด โล่ห์ธนู เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นาย คณิน สงกรด

ชื่อ เล่น บาส

     เลขที่ 3 ม.307

อายุ 16

     เกิด วันที่1 พ.ย ปี2539

โรงเรียน ชะอวด

     จังหวัด นครศรีธรรมราช


   ชื่อ นาย ศุภวิชญ์  ศรีอินทร์
 ชื่อเล่น  สอง
เลขที่  22
  อายุ  15
เกิด วันที่ 2 ม.ก ปี2540
  โรงเรียน  ชะอวด
จังหวัด  นครศรีธรรมราช